วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พงศา ชูแนม ๒

พิมพ์เขียวพัฒนามนุษย์ฉบับพระพุทธเจ้า ๑    โดยพงศา ชูแนม

เรื่องพิมม์เขียวการพัตนามนุษย์ฉบับพระพุทธเจ้านี้   เป็นข้อเขียนของคุณพงศา ชูแนม  ที่ได้เขียนลงโซเชียลฯอย่างเฟสบุ๊ค ฯ และบรรยายตามที่ต่างๆ ผมเห็นว่ามีประโยชน์   จึงได้ขออนุญาติเอามาเขียนลงในบล็อกเพื่อให้อ่านงาย โดยแทรกรูปภาพและเน้นสีสีตัวอักษรให้พอดูได้ครับ
ส่วนคุณพงศา ชูแนม คือใครมาจากไหน ติดตามได้จากลิงค์  พงศา ชูแนม ครับ




เหตุแห่งทุกข์

ทุกข์ที่เกิดทำให้ชนบทล่มสลายการเกษตรพึ่งตนล้มเหลว เกิดสังคมเมืองอยู่ตึกสูง ซึ่งเปรียบเสมือนหลุมดำบนโลกมนุษย์ ภายใต้อำนาจการควบคุมของระบบทุน และทำให้มนุษย์ หมดอิสระภาพ พื้นฐานคือ อาหาร และที่ดิน
                                                                                                     
                                                      ที่มาของพิมพ์เขียว (มรรควิธี)
อ.พุทธทาสได้เสนอปณิธาน ๓ ข้อ คือ
๑. ทำความเข้าใจในศาสนาแห่งตน
๒. ทำความเข้าใจในศาสนาระหว่างศาสนา ซึ่งที่สุดแล้ว จะรวมเป็น ศาสนาเดียว คือ ศาสนาพระศรีอริยะเมตไตร
๓. จงหลุดพ้นเสียจากวัตถุนิยม หมายถึง ประกาศจุดยืนชัดว่า ศาสนานั้นไม่เป็นศัตรูแก่กัน; ศัตรูของศาสนา คือวัตถุนิยม ซึ่งคือระบบทุนนิยมตะวันตกนั่นเอง
อ. พุทธทาส เขียนไว้ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ”




พระพุทธเจ้า ตรัสว่า “มนุษย์เท่าเทียมกันได้ก็โดยธรรม”; ไม่เคยตรัสว่า มนุษย์เท่าเทียมกันก็โดยการมีชาติ

พระพุทธเจ้า การทำบุญ ที่เกิดประโยชน์ทั้งกลางวัน กลางคืน เกิดประโยชน์ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลาย คือ ทำ ๓ ประการ ซึ่งการทำบุญแปลว่า ทำให้โลกนี้ดีขึ้น ทำบาป ทำให้เลวลง

๑. สร้างที่พักริมทางให้ผู้ผ่านทางได้พัก
๒. ขุดบ่อน้ำให้ผู้ผ่านทางได้ดื่มกินให้ชุ่มเย็น
๓. ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาแก่สรรพสิ่ง
รวมครบทั้งสามข้อ น่าจะหมายถึง ต้นไม้ เพราะต้นไม้ให้ทั้งที่พัก ร่มเงา และน้ำแก่สรรพสิ่ง

พระเจ้าอยู่หัว “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

ธรรม    หมายถึง การตั้งไว้ ทรงไว้ ซึ่งความปกติแห่งธรรมชาติอันถูกต้อง หมายถึง การไม่เอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ยอมให้ผู้อื่นเอาเปรียบ เบียดเบียนตัวเรา

เรื่องในโลกแยกตามหลักศาสนามี ๓ เรื่อง

๑. เรื่องของมนุษย์ ได้แก่ สังคม
๒. เรื่องของธรรมชาติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม
๓. เรื่องระหว่าง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม คือ เศรษฐกิจ
หัวข้อเรื่องในโลกนี้จึงมี๓ อย่าง คือ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม (ตามหลักศาสนา)
เศรษฐกิจ /เศรษฐศาสตร์ ; เศรษฐประเสริฐ หมายถึง เครื่องมือ อันประเสริฐที่จะทำให้การอยู่ร่วมกันระหว่าง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    พิมพ์เขียวพัฒนามนุษย์ฉบับพระพุทธเจ้า  ตอนที่ ๒   โดยพงศา ชูแนม
                                 
                                                       

ตัวแบบการพัฒนาสังคมมนุษย์  ที่แต่ละศาสนากำหนดไว้ในคำสอน (นิโรธ ; ความหลุดพ้น)

มุสลิม  ยุคสิ้นโลก คือสิ้นภาวะโลภ โกรธ หลง สู่ภาวะ ภารดรภาพ
คริสต์   ยุคยูโธเปีย หรือแมตซิอาร์
พุทธ    ยุคพระศรีอริยเมตไตร หรือ พระศรีอริย์

  สิ่งที่ทั้ง ๓ ศาสนา  คล้ายจนเหมือนกัน ได้แก่

๐  การต่อสู้ทางจริยธรรม เพื่อ ดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม ให้ธรรมะชนะอธรรม
๐  เคารพ ศีลธรรม   ไม่เบียดเบียน/ประทุษร้ายผู้อื่น/ไม่ให้ผู้อื่นประทุษร้ายตัวเรา
๐  เคารพธรรมชาติ  ไม่สะสมทรัพย์ไม่เคารพสิ่งชั่วร้าย    เมตตา/เสียสละ/การให้


ตัวแบบ (Model) การพัฒน  สังคมมนุษย์สู่ยุคพระศรีอาริย์ (มรรควิธี)

ซึ่งเห็นได้จากบทบันทึกในภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง และบทบันทึกในไตรปิฏก โดยเฉพาะในวัดแถวอีสานตอนกลางได้แก่วัดหนองฟ้า อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

ภาพ ๑-๑๓ ว่าด้วยกัณฑ์เทศน์ต่างๆในพระเจ้าสิบชาติ (เต ชุ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว) ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง  ภาพที่ ๑-๑๓ กล่าวคือ การลุกขึ้นต่อสู้ทางจริยธรรม / ความเด็ดขาดชัดเจน         ความเพียรอย่างบริสุทธิ์ และปัญญาอย่างไม่ลังเลสังสัย

การให้ การเสียสละอย่างไม่เหลือ
ภาพที่ ๑๔ ภาวะรู้แจ้งแห่งพุทธะ/ ตื่นรู้       ภาพที่ ๑๕ ภาพสังคมในศาสนาพระศรีอริย์

บ้านเมืองอยู่ตรงกลาง

ประชาชนพออยู่พอกินต้องการสิ่งใดสอยเอาจากต้นกัลปพฤกษ์
มีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ ๔ มุมเมือง (๔ต้น)

ความหมาย ; การพัฒนาสู่ยุคพระศรีอริยเมตไตรต้องต่อสู้ทางจริยธรรม เพียรอย่างบริสุทธิ์ด้วยปัญญา เสียสละให้ อย่างไม่เหลือ จะสู่ภาวะการ ตื่นรู้ และปลายทางจะเกิดสังคมมนุษย์ที่มีต้นไม้ ธรรมชาติห้อมล้อมทุกทิศทาง และเกื้อกูลตามผาสุกให้แก่มนุษย์โดย ไม่ต้องหาจากที่อื่น ได้แก่ อาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต ชุดความเชื่อ ความรู้ตลอดจนปัจจัย ๔ อันพอเพียง และยั่งยืนของสังคมมนุษย์

    พิมพ์เขียวพัฒนามนุษย์ฉบับพระพุทธเจ้า โดยพงศา ชูแนม ตอนที่ ๓

วิธีการ
ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเปลี่ยนสู่สังคมอาริยะ (อริยะ มากจาก อริ+ยะ อริ แปลว่า ศัตรู ,
ข้าศึก ส่วน ยะ แปลว่า ไปไกล รวมความแปลว่า ทำให้ข้าศึกไปไกล หรือไกลจากข้าศึก คือ ภาวะ โลภ โกรธ หลง หรือ ทุนนิยม)

รูปธรรม ( มรรควิธี)
๑. สังคม=ตั้งสภาประชาธรรม ทุกระดับพิจารณาความเป็นธรรม ซึ่งใช้หลักนิติธรรมควบคู่ เพื่อตรวจสอบกฏหมายรัฐบัญญัติ
๒. สิ่งแวดล้อม=ตรวจสอบวิศวกรรมมนุษย์ เพื่อไม่ให้กล้ำเกินวิศวกรรมธรรมชาติ
๓. เศรษฐกิจ=ออกกฏหมายสร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เป็นทางออกใหม่ โดยคาร์บอน หรือ มูลค่าต้นไม้เป็นทรัพย์ตามแนวทางธนาคารต้นไม้

ผล (นิโรธ)
๑. สังคมเป็นธรรม เรียนรู้สิ่งที่เป็นธรรม เคารพความเป็นธรรม ความโลภน้อยลง ;ตรวจสอบการสะสมด้วยหลักธรรม
๒. สิ่งแวดล้อม ถูกรุกรานน้อยลง และพัฒนาสมบูรณ์ขึ้น
๓. เศรษฐกิจ เกิดเครื่องมือที่เท่าเทียมสร้างสรรค์ สะสมมากไม่ผิดบาป แต่ยังเป็นผลดีอีก คือสะสมคาร์บอนในต้นไม้

- ประชาชนมีอาหาร และที่ดิน พึ่งตนได้ อันเป็นอิสระพื้นฐานของมนุษย์
- สังคมชนบทเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ทั้งอาหาร พลังงาน ในปัจจัยการผลิต ชุดความรู้ ทำให้คนเมืองกลับไปชนบท คนเมืองน้อยลง สุขขึ้น

                                                                         สวัสดีครับ
                                                                         นำเสนอโดย .. ปรีดี ยืนยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น