ลักษณะ : นกกางเขนดง เป็นนกที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติอย่างใกล้ชิดกับนกกางเขนบ้านที่เรารู้จักกันดี ต่างกันที่นกกางเขนดงมีสีสันบริเวณท้องที่สดใสกว่า คือไม่เป็นสีขาวอย่างกางเขนบ้าน แต่เป็นสีแดงอมน้ำตาลสดใส และมีหางยาวกว่าปีกมาก
ตัวผู้ : มีหัว คอ หน้าอก หลัง ไหล่ เป็นสีดำเหลือบน้ำเงิน ตัดกับตะโพก และขนคลุมบนโคนหาง ซึ่งเป็นสีขาวบริสุทธิ์ จนเห็นได้ชัดเจน ขนกลางปีกเป็นสีดำด้านๆ ขนหาง 2 คู่ล่างสุดมีสีขาวปลอดทั้งเส้น ส่วนล่างของลำตัวถัดจากหน้าอกลงมาจนถึงท้อง และขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีน้ำตาลแกมแดง นกชนิดนี้จึงมีสีตัดกันถึง 3 สี คือ สีดำ ขาว และน้ำตาลแกมแดง ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม ปากมีสีดำสนิท แต่ขา นิ้วเท้า และเล็บ มีสีเนื้อจางๆ
ดีจังมีคนเอาภาพตัดต่อผมไปอัปคลิป แสดงว่าฝีมือดีใช้ได้ครับ
ขณะนี้ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ส่งหนังสั้นเข้าประกวดในหัวข้อ“รักนกให้ถูกทาง”
ผู้อ่านท่านใดสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่เวบไซท์ http://www.bcst.or.th/
ตัวเมีย มีหางสั้นกว่าตัวผู้ หัวคอ หน้าอก หลัง และขนปกคลุมปีกเป็นเทาคล้ำๆ แต่บริเวณกระหม่อมและหลังไหล่ อาจมีเหลือบเป็นมันบ้างเล็กน้อย ขนกลาง ปีก ขนปลายปีกรวมทั้งขนหาง 2 คู่บน ก็เป็นสีเทาคล้ำๆ ขนหาง 2 คู่ ถัดลงไปมีสีเทาคล้ำๆ เฉพาะทางครึ่งโคน แต่ครึ่งปลายมีสีขาว ขนหาง 2 คู่ล่างสุด มีสีขาวปรอดทั้งเส้น ตะโพก และขนคลุมบนโคนหาง มีสีขาว เช่นกัน
ส่วนล่างของลำตัวที่เหลือเป็นสีส้มอมน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม ขา นิ้วเท้า และเล็บ มีสีเนื้อจางๆ เช่นเดียวกับตัวผู้การที่คนพานกกางเขนดงไปอยู่ผิดที่ผิดทางไม่เพียงทำให้มันลดลงในเอเชียใต้ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของมัน แต่เมื่อมันหลุดกรงและสามารถแพร่พันธุ์ได้เองนอกกรงเลี้ยงในที่ที่มันไม่เคยมีอยู่ตามธรรมชาติ นกชนิดนี้ก็สร้างผลเสียต่อระบบนิเวศได้เช่นกัน
โดยเฉพาะแมลงเฉพาะถิ่นหลายชนิดในไต้หวันลดจำนวนลง จนน่าใจหาย นกเจ้าถิ่นถูกคุกคามด้วยอุปนิสัยก้าวร้าวของนกกางเขนดง นอกจากนี้ประชากรนกยังเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่พบชุกชุมในฮาวาย
บินหลาดงเป็นนกที่เลียนเสียงนกอื่นๆได้หลายเสียง หากมีนกเขาอยู่ใกล้ๆมันก็จะร้องเสียงนกเขา หากมีไก่ที่บ้านขันมันก็จะขันเลียนเสียงไก่ ฟังดูแล้วก็ตลกดี เสียงไก่ตัวนี้ทำไมเสียงขันมันดังแปลกๆ
นกกางเขนดงมีลักษณะเด่นคือตะโพกสีขาว เป็นนกที่ค่อนข้างขี้อาย มักส่งเสียงร้องในช่วงเช้าตรู่และพลบค่ำ ตัวเมียมีหางสั้นและสีสันโดยรวมจางกว่าตัวผู้ ยังคงพบได้บ่อยในป่าหลายประเภท โดยเฉพาะป่าไผ่ เมื่อนกทางภาคใต้เริ่มหาได้ยากขึ้น นกทางภาคอื่นๆก็เริ่มถูกจับมาขายจนลดจำนวนลงไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น