ใครไม่รู้จักนกกรงหัวจุกมั่ง อาจจะมีบ้างที่เป็นคนเมือง หากเป็นคนบ้านนอกเชื่อว่าคงรู้จักกันเยอะ แต่ก็เป็นนกที่เห็นได้ทั่วไปแม้แต่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะแถวบ้านเรือนคนปักษ์ใต้ ที่มักจะนิยมนำมาเลี้ยงไว้ดูเล่นในกรง
แต่ตัวผมเองจะชอบดูนกที่บินอยู่ตามต้นไม้มากกว่า แบบนกที่ดูแล้วคลาสสิคหน่อย เช่น นกเขา นกบินหลา นกเอี้ยง นกกระจิบ ส่วนนกกระจอกนกพิราบ ฮึ ดูๆแล้วผมว่ามันไม่น่ารักที่จะมาอยู่ตามต้นไม้ในบริเวณบ้าน ส่วนนกกรงหัวจุกผมว่ามันตลกกดีกับคำว่ามีหัวจุกด้วย ยังกะส้ม ยังมีส้มหัวจุก เด็กหัวจุก หรือพวกบ้าหัวจุก แต่ได้เห็นเพื่อนๆที่เลี้ยงนกไว้ดูในกรงก็ยังดีนะครับดีกว่ามีแต่คนกับรถยนต์ เจอคนเลี้ยงนกกรงหัวจุก เดินหิ้วกรงนกกลางกรุงเทพฯ ไม่ใส่เสื้อแล้วดูเท่ห์ดี มีวัตนธรรมเชิงอนุรักษ์ นะครับ
นกกรงหัวจุก เสียงร้องอันมีมนต์ขลัง จาก http://pet.kapook.com/view1322.html
เมื่อพูดถึงสัตว์ที่มีเสียงร้องอันไพเราะ แทบปฏิเสธไม่ได้ว่า นกกรงหัวจุก จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ปัจจุบันวงการ นกกรงหัวจุก จัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นจำนวนมาก มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ นกกงหัวจุกมีมากมายหลายชนิด
พี่บ่าวคนนี้ มาจากนครศรี มีร้านขายของอยู่ซอย 5 แจ้งวัฒนะ แกเลี้ยงนกกรงหัวจุกหลายกรง
นกกรงหัวจุกหรือนกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด พบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดประมาณ 36 ชนิด โดยที่นกปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้โดยเฉพาะ จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "นกกรงหัวจุก" หรือ "นกกรง" ภาคเหนือเรียกว่า "นกปริ๊ดเหลว" หรือ "นกพิหลิว" ส่วนภาคกลางเรียกว่า "นกปรอดหัวจุก" หรือ "นกปรอดหัวโขน"
ถิ่นอาศัยของนกกรงหัวจุก อยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเชียส่วนใหญ่พบ นกกรงหัวจุก ได้ในประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ในประเทศไทยเราจะพบ นกกรงหัวจุก ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยจะพบ นกกรงหัวจุก อาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชนในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
นกกรงหัวจุก ชาติแรกที่นำนกกรงหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2410 ในประเทศไทยเริ่มนิยมเลี้ยงประมาณ พ.ศ. 2504 ที่ภาคใต้ แต่จะนำมาเล่นให้นกตีกันต่อสู้กันแบบเดียวกับไก่ชน จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2515 จึงได้คิดเล่นแบบใหม่ โดยให้แข่งขันเสียงร้อง จากนั้นจึงได้แพร่หลายมาที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ส่วนที่ภาคอีสานมีค่อนข้างน้อย นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน และสืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคใต้ จึงเห็นมีกรงนกแขวนตามบ้านเรือนประชาชนแทบทุกบ้าน และมีการตั้งเป็นชมรมทุกจังหวัด
นกกรงหัวจุก ที่ดีควรจะเป็นเสียงใหญ่ ถัดมาก็เสียงกลางและเสียงเล็ก ซึ่งก็แล้วแต่ถิ่นกำเนิดของ นกกรงหัวจุก นั้นๆ เพลงของนกกรงหัวจุกต้องมีคำหรือ 3 คำขึ้นไปจนถึง 7 คำ ซึ่งนกที่ร้องเพลงได้ 3 - 5 คำ เป็นนกแบบธรรมดา นกที่ร้องเพลงได้ 6 - 7 คำ จะเ ป็นนกที่หายาก จังหวะและคำร้องแต่ละคำต้องสม่ำเสมอและชัดเจน ในภาพรวมการร้องของ นกกรงหัวจุก คือ ขณะร้องเพลงต้องมีท่าที ลีลาสวยงามไปทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นปาก คอ อก หาง ขา หน้าตาสดชื่นแจ่มใส ดวงตาแจ่มใส ขาเหยียด ลำตัวนกตั้ง หน้าเชิด ขนอกฟู หางกระดก น้ำเสียงดังฟังชัดเป็นจังหวะจะโคนที่ดี สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ลักษณะดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผู้เลี้ยง นกกรงหัวจุก หลงใหลในเสน่ห์ จนทำให้เกิดความรัก สนใจเลี้ยง นกกรงหัวจุก เพื่อการประกวดประชันเสียงร้องเพลง สำหรับกติกาการแข่งขัน นกกรงหัวจุก ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ กติกาแบบสากล และ กติกาแบบ 4 ยก สำหรับ นกกรงหัวจุก ที่มีเสียงไพเราะหรือชนะการประกวดก็จะมีราคาแพงตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว นอกจากการประชันเสียงร้องแล้วยังมีการประกวดประชันหรือโชว์กรง นกกรงหัวจุก อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น