ดูจากลิงค์ "อันตรายจากความกดอากาศสูง "
จากการสังเกต และจดจำ มานาน พบว่า เมื่อความกดอากาศสูงเริ่มลงมาปรากฏที่แผนที่อากาศ โดยไม่จำเป็นต้องมีความหนาวใด ๆ ลงมาถึง
คนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตอาจเพิ่มขึ้นแบบงงๆ แม้ว่าจะกินยาอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะคนสูงวัยชาวปักษ์ใต้ ที่อาศัยอยู่ที่ภาคใต้ และที่ขึ้นมาอาศัยอยู่ กทม.มักเสียชีวิต หรือมีปัญหาสุขภาพได้ง่ายๆ ในช่วงฤดูหนาว สังเกตุมานานครับ
ฟังดูเหมือนงมงายและไร้สาระ จะไปเกี่ยวกันได้ยังไง กับระบบหัวใจ การไหลเวียนโลหิต เรื่องนี้เคยถามคุณหมอ แต่หมอไม่เชื่อ ผมเองก็ไม่เชื่อหมอเช่นกัน
สมัยก่อนคิดว่าเป็นอาถรรพ์ แต่ปัจจุบัน ผมเห็นเป็นความสำพันระหว่างความดันโลกภายนอกกับโลกภายใน ที่ต่อสู้กัน และแพ้ความดันตัวนอก ...โดนน็อค เพราะฉะนั้นอย่าสู้ แต่โอนอ่อนผ่อนตาม ปรับตัวให้สำพันกับฤดูกาลจะปลอดภัยกว่า
คนเฒ่าคนแก่ เฉพาะคนปักษ์ใต้ (คนภาคอื่นไม่มีข้อมูล หรืออาจไม่มีผล) คนที่มีปัญหากับระบบเลือดระบบหัวใจ มักจะเสียชีวิตปีละ 3 รอบ
รอบแรก ปลาย กย. - ต้น ตค. //รอบ 2 ปลาย ธค.// รอบ 3 ต้น กพ.ถึง กลาง กพ. (แต่คนทั้งหมดจะไม่เหมือนกัน บางกลุ่มแข็งแรงเมื่อถึงหน้าหนาว บางกลุ่มแข็งแรงเมื่อถึงหน้้าฝนฯลฯ )
คนเป็นโรคกระดูกมักเจ็บปวดมากในฤดูหนาว ฝรั่งแถบสแกนดิเนเวีย จึงพาญาติๆ ผู้สูงวัยมาพักที่อันดามันกันเยอะในช่วงฤดูหนาว มาซื้อบ้านทิ้งเอาไว้เลย ตรงนี้เพื่อนผมหลายคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ช่วงหน้าหนาวอาการจะกำเริบเช่นกัน
สังเกตุต้นไม้และสัตว์หลายชนิดบ้านเราก็คล้ายกัน เมื่อถึงฤดูหนาว จะหยุดเจริญเติบโต ตั้งแต่อากาศยังไม่ทันได้หนาวเย็น แต่มีความกดสูง และความชื้นต่ำปรากฏให้เห็น
หยุดการเจริญเติบโตก็ปลอดภัย ฤดูหนาวผ่านไปก็แตกยอดใหม่ทันที เหมือนต้นตำลึง กบก็เช่นกัน ถึงหน้าหนาวก็จำศีลอยู่รู ไม่กินอะไรเลย 3 เดือน ครบกำหนดก็ลุยต่อเลย
แม้แต่ประพณีแต่โบราณอย่างการไหว้เจ้า เมื่อถึงหน้าหนาวก็ให้กินแค่ผัก ฤดูร้อนกลับมาเมื่อไหร่ หมูเห็ด เป็ดไก่ เอามาไหว้ได้เลยครับ
จริงเท็จประการใด โปรดช่วยกันสังเกตุต่อไป ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นจุดเซ็ตพอยด์ค่าต่างๆ ในระบบร่างกาย ที่สำพันธ์กับสภาวอากาศภายนอก ซึ่งค่าต่างๆของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน หากข้อมูลนี้เป็นจริง อาจจะมีประโยชน์ต่อสังคมบ้าง ไม่มากก็น้อยครับ