เรื่องตำนานเพลงเพื่อชิวิต ตำนานเพลงบลูส์ เพลงร็อค ฯ ความสวยงามในอดีต ปัจจุบันไม่รู้เด็กรุ่นหลังจะได้เจอบ้างหรือเปล่า เมื่อก่อนผมก็ฟัง บีบีคิงส์ เนลยัง บ็อบไดเล็น และฮาร์ทร็อคหลายๆวงกว่าจะมารู้จัก คาราวาน และมีเรื่องราวมากมายที่เป็นตำนานที่น่าสนใจ
แรกๆผมไม่ได้ชอบฟังคาราวาน โดยเฉพาะชุดแรก เพราะผมไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเรื่องการต่อสู้กับเผด็จการเท่าไหร่เห็นว่าแกออกแนวเป็น คอมมิวนิตส์ด้วยตามข่าวนะเพราะสมัยนั้นยังฟังความข้างเดียวอยู่การรับรู้ข่าวสารสมัยนั้นยังเป็นเรื่องยากอยู่
แต่พอดีเห็นพี่ๆ เพื่อนๆฟังกันอยู่หลายคนบางคนก็เป็นรุ่นที่อยู่ในเหตุการณ์ได้กินเหล้ากับเขาแล้วเขาร้องให้แล้วเล่าเรื่องความหลังให้ฟังแล้วก็อึ้งคือเข้าใจความรู้สึกของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ส่วนพี่หงาเห็นแกได้รางวัลบ่อย เวลามารับรางวัลดูพี่แกไม่ค่อยอยากได้ แต่งตัวมาก็ยังกะเด็กแลวัวแถวบ้านๆ ชุดเก่าๆใส่รองเท้าแตะ เลยรู้สึกสนใจคิดว่าคงเป็นนักปราชญ์ เลยเข้ามาดู เห็นประวัติแกชอบสไตล์บลูส์ ชอบ เนลยังผู้ยิ่งใหญ่ด้วย ชักเหมือนกันแฮะ พอเข้ามาจึงรู้ว่าพี่แกแต่งเพลงไว้มาก และบอกไว้ด้วย ว่าเอามาจากไหนจากใคร ทั้งเนื้อร้องและทำนอง รู้สึกว่าแกเก่งจริงเพราะไมได้โอ้อวดว่า กูแต่งเองทั้งหมดเหมือนศิลปินดังบางคน ทั้งๆที่ลอกเขามาจากต่างประเทศทั้งนั้น แต่คนไทยไม่รู้หรือไม่สนใจ มีหลายเพลงที่ผมชอบ เช่น เปิบข้าว - ข้าวคอยฝน - จิตร ภูมิศักดิ์ - ใกล้ตาไกลตีน - คืน รัง - หนุมพเนจรฯลฯ ...มาฟังพี่หงา กับพวกสักเพลงดีกว่าครับ
ประวัติและผลงานย่อๆ ของพี่หงา คาราวาน (ลอกจาก วิกิพีเดีย)
สุรชัย จันทิมาธร หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ หงา คาราวาน เป็นนักร้องนำและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวาน สุรชัยเป็นนักแต่งเพลงชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของวงการเพลงไทย ผู้คนในวงการเพลงเพื่อชีวิตมักเรียกเขาอย่างนับถือว่า น้าหงา หรือ พี่หงา และได้รับการยกย่องให้เป็น อาจารย์ใหญ่แห่งวงการเพลงเพื่อชีวิต
สุรชัยเกิดที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2491 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของนายยุทธและนางเล็ก จันทิมาธร มีชื่อเล่นว่า "หงา" ซึ่งเป็นภาษาเขมรมีความหมายถึง เด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ ที่น่ารัก (มีชื่อเดิมว่า องอาจ แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สุรชัย ตามชื่อของสุรชัย ลูกสุรินทร์ นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงที่สุรชัยชื่นชอบ) น้าหงา บิดารับราชการเป็นครูใหญ่โรงเรียนรัตนบุรี ดังนั้นจึงเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสุรชัยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ที่เมื่อโตขึ้นมาได้เข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อในด้านศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และได้รู้จักกับนักคิด นักเขียนคนอื่น ๆ ที่ต่อมากลายมาเป็นนักเขียนชั้นแนวหน้าคนอื่น ๆ ของประเทศ เช่น สุวรรณี สุคนธา, สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นต้น ซึ่งการเป็นนักเขียนของสุรชัยเริ่มต้นขึ้นที่นี่ในปี พ.ศ. 2516 สุรชัยได้ร่วมกับ วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) ก่อตั้งวงท.เสน และสัญจร ขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้รวมกับวงบังคลาเทศแบนด์ ของมงคล อุทก (หว่อง) และทองกราน ทานา เปลี่ยนเป็นวงคาราวาน สุรชัยได้แต่งเพลงเพื่ออุทิศให้กับบุคคลสำคัญของไทยหลายคน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ปรีดี พนมยงค์, สืบ นาคะเสถียร และ รงค์ วงษ์สวรรค์
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา สุรชัยและพรรคพวกบางส่วนได้หลบหนีเข้าป่าไปอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเฉกเช่นนักศึกษาและปัญญาชนคนอื่น ๆ โดยสุรชัยทำหน้าที่คอยให้ความบันเทิง ร้องเพลง โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายพันตา" เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง สุรชัยและพรรคพวกได้เดินทางออกจากป่า และได้แต่งเพลงซึ่งเป็นเพลงอมตะของคาราวานและสุรชัย บอกเล่าถึงสภาพจิตใจที่ออกจากป่ามาสู่เมือง คือเพลง คืนรัง ซึ่งเป็นเพลงที่แต่งก่อนขึ้นแสดงดนตรีเพื่อการกุศลของยูนิเซฟ โดยใช้เวลาแต่งเพียง 5 นาที แต่ได้ชื่อว่าเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเพลงหนึ่งเลยทีเดียว
สมาชิกยุคแรกของวงคาราวานประกอบไปด้วย สุรชัย จันทิมาธร (หงา) ร้องนำ, วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) เล่นกีตาร์, ทองกราน ทานา (อืด) เล่นกีตาร์ลีด ฟลุต และร้องประสาน, มงคล อุทก (หว่อง) เป่าเมาท์ออร์แกน พิณ และร้องประสาน นอกจากนั้นยังมีสมาชิกชั่วคราวคนอื่นๆ เช่น พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (หมู) อู๊ด ยานนาวา ชัคกี้ ธัญญรัตน์ อีกด้วย
เพลงของคาราวานโดยส่วนใหญ่แต่งโดยหงา ยกเว้นบางบทเพลงเช่น
- นกสีเหลือง และบูบู โดยวินัย อุกฤษณ์ - คนกับควาย โดยสมคิด สิงสง
- อีสาน โดยอัศนี พลจันทร
- ลุกขึ้นสู้ และ กุหลาบแดง โดยมงคล อุทก
- อเมริกันอันตราย โดยทองกราน ทานา และ วีระศักดิ์ สุนทรศรี
ชีวิตส่วนตัว
สุรชัยมีภรรยาสองคน และบุตรชาย 2 คน ภรรยาคนแรกชื่อ จิราพร จันทิมาธร มีบุตรชายคือ คณิน จันทิมาธร ส่วนภรรยาคนที่สอง พิสดา จันทิมาธร มีบุตรชายคือ พิฆเณศร์ จันทิมาธร(กันตรึม) เกิด พ.ศ. 2538
ผลงานหนังสือ
เรื่องสั้น
มาจากที่ราบสูง, เดินไปสู่หนไหน, ความบ้ามาเยือน, ข้างถนน และรวมเล่มเป็น "ก่อนเคลื่อนคาราวาน"
รวมเรื่องสั้น
ดวงตะวันสีแดง , ดอกอะไรก็ไม่รู้ (รวมเรื่องสั้นคัดสรรเน้นฉากเมือง)
บทกวี
จารึกบนหนังเสือ , เมดอินเจแปน และ เนื้อนัย
นวนิยายเล่มเดียว
ก่อนฟ้าสาง
บันทึกและความเรียง
จากราวไพร สู่ป่าคอนกรีต , คือคนลำเค็ญ
ดนตรีคาราวาน และ ผ่านตา พันใจ
รางวัล
รางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบสำหรับศิลปิน นักคิดนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่ามีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง มาทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2531
ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาวรรณศิลป์
คือ ไม่รู้นะเป็นความรู้สึกส่วนตัว ผมดูนักดนตรีคนอื่นๆพอแก่ตัวแล้วดูเปลี่ยนไปไม่ค่อยน่าดูเหมือนตอนรุ่นๆเช่นวงร็อกทั้งหลาย ตอนรุ่นๆแล้วดูเท่ห์ เร้าใจ พอแก่แล้ว สังขารกับบทเพลงที่เคยโด่งดังเวลาศิลปินมาเปิด คอนเสิร์ทแล้วเล่นเพลงเก่าๆสมัยที่ยังรุ่นๆดูแล้วมันไม่เข้ากัน แต่กับพี่หงาและพี่หว่อง มงคล อุทก พอแก่แล้วผมว่ายิ่งดูดีดูแล้วคลาสสิก คล้ายๆ บ็อบไดเลนBob dylan หรือลุง บีบีคิงส์ แก่แล้วเล่นเพลงเดิมๆของตัวเองยังดูดีอยู่ สรุปคือผมชอบพี่หงา คาราวานจริงครับ
ระยะหลัง เมื่อประเทศไทยเดินมาถึงจุดหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อนฝูงที่เคยคบกันยาวนานเคยต่อสู้ร่วมกันมาก็ถึงคราวแตก อย่างกวี หงา สุรชัย กับ วิสา คัญทัพก็ยืนกันคนละด้าน และมีวาทะโต้กันตอนหนึ่งในเดือน กรกฎาคม พศ.2555 ดังนี้
หงาคาราวานได้เขียนบทกวีขึ้นก่อน
หลังจานั้นไม่นาน วิสา ก็เขียนตอบโต้
บทกวี “จึงเรียนมาด้วยความไม่เคารพศาลแห่งสี” ของ “วิสา คัญทัพ”
ในอดีตพี่หงา และวิสา เคยเป็นเพื่อนกัน เคยออกผลงานร่วมกัน แต่เดี๋ยวนี้เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยมีความเห็นแตกต่างกัน เลยต้องยืนคนละข้าง ไม่รู้ลึกๆแล้วจะโกรธกันจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้แล้วหลังจากนั้นไม่กี่วันคุณ อดิศร เพียงเกศ และวิสา คัญทัพ ก็ได้ออกรายการทีวีช่ิองเสื้อแดง สำภาษณ์ พี่หงา และมีแฟนๆเสื้อแดงช่วยกันรุมอัด ตามประสาคนไม่ชอบ สำหรับผมแล้วผมไม่ว่านะครับถึงผมจะชอบน้าหงามากแค่ไหน หากใครเขามาด่าผมก็ไม่ว่าไม่โกรธ ถือเป็นเรื่องปกติ ที่มนุษย์คนย่อมมองว่าตัวเองถูกและดีเสมอ
วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ธรรมจากอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ธรรมะจากพระอริยสงฆ์ จาก
http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=308196
วาทะคำสอนของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
8. จำไว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอะไรๆ ก็พุทโธ กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ ท่านให้พิจารณามูลกรรมฐานก่อนม๊ด เวลาบวชพิจารณาเพราะเหตุใด เพื่อไม่ให้หลงถือทิฐิมานะอหังการ ถือว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา มันจึงหลง
9. เราต้องปฎิบัติอย่างฝากตาย
10. ศีลห้านี้ คือ ขาสอง แขนสอง ศีรษะอันหนึ่ง เรารักษาห้าอย่างนี้ไม่ให้ไปทำโทษห้า คือ อันใดเล่า ปาณานั้นก็โทษ อทินนานั่นก็โทษ กาเมนั่นก็โทษ มุสานี่นก็โทษ สุรานั่นก็โทษ พระพุทธเจ้าให้เว้น เวรมณี คือ ละเว้น
11. อยากสวยให้ถือศีล อยากรวยให้ทำทาน อยากมีปัญญาชาญให้ภาวนา
12. จิตของเราสงบเป็นสมาธิ มันรู้สึกสบาย ส - บ๊ - า - ย เย็นอก เย็นใจ หายทุกข์ หายยาก หายรำบากรำคาญ
13. ผู้รู้ไม่ใช้ของแตกของทำลายของตายของดับ
14. ถ้าใจเราดีแล้ว ทำอะไร๊ก็ดี ไปไหนๆก็ดี ทำการทำงานก็ดี ทำราชการก็ดี ครอบครัวก็ดี พี่น้องก็ดี ชาวบ้านร้านตลาดก็ดี ประเทศชาติก็ดี
15. ความสุขอันใดเสมอจุดสงบไม่มี
16. ธรรมของพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น อยู่ที่ตัวเรา ไม่ใช่ที่ไหนอื่น
17. กรรมดีกรรมชั่ว ผู้นี้เป็นผู้กำเอาเป็นผู้ทำเอาไม่เห็นมีกรรมมาจากต้นไม้ภูเขาเหล่ากา ไม่เห็นมีกรรมมาจากฟ้าอากาศ มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมเท่านี้แหละ
18. เราเกิดมามีกรรมฐานห้ามาพร้อม ทีนี้กับคนแก่พระกรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง ทันตาฟันไงล่ะ เด็กมันเกิดมาฟันยังไม่เกิด พระกรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง คนแก่ฟันหลุดหมด พระกรรมฐานก็ขาดไปองค์หนึ่ง
19. วิธีอื่นไม่มีจะตัดบาปตัดกรรมตัดเวร นอกจากเรานั่งสมาธินี้
20. มโนกรรมคือความน้อมนึกระลึกกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะรับผลของกรรมนั้นสืบไป
21. บุญคือความสุข บุญคือความเจริญ บุญคือคุณงามความดี มันตรงไหนล่ะ เงินเขาก็ไม่ได้ว่าเขามีความสุข ถามดูซิ เงินเจ้ามีความสุขไม๊ เขาเฉย ไม่ใช่เรอะ นี่แหละ ถ้าใจเราไม่สงบมันก็ไม่มีความสุขล่ะ ถ้าใจเราไม่มีความดีก็ไม่มีซี้
22. อยากรู้อะไร ตามที่เป็นจริง ให้น้อมเข้ามาภายในโอปะนะยิโก เพราะอะไรๆ มันเกิดมาจากภายใน
23. สิ่งทั้งหลายทั้งหมดเกิดจากดวงใจของเรา มโนความน้อมนึก
24. สมุทัย คือ มหาสมุทร จมในมหาสมุทร คือ หลงสมมติ
25. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้วเราอย่าไปหา ไปหาแล้วมันเป็นตัณหา
26. เรานั้งอยู่นี่มันเกิดกี่ภพกี่ชาติแล้ว ภเว ภวา สัมภวันติ มันเที่ยวก่อภพน้อยๆ ใหญ่ๆ อยู่ มันห้ามไม่ได้ เรานั้งสมาธินี้เพื่อห้ามไม่ให้มันเกิด
27. เราทำอย่างนี้เรียกปฏิบัติบูชา บูชาพระพุทธเจ้าอย่างเลิศ อย่างประเสริฐที่สุด บุญอันใดจะเท่าเรานั่งสมาธิภาวนาไม่มี
28. ถ้าหยุดหาเสียเมื่อใด มาตั้งใจปฏิบัติธรรม ก็เห็นธรรมเมื่อนั้น
29. เวลานี้เราเข้าใจอย่างอื่นว่าเป็นศาสนา ไปเรียนอย่างอื่นไม่ใช้โอปะนะยิกธรรม ไม่น้อมเข้ามาหาตัวเราก็ไม่เห็นซี่
30. เพ่งดูนโม อาการสามสิบสองเพ่งให้เห็นแจ่มแจ้งภควา ผู้จำแนกแจกธรรม แจกเข้าแล้วมันก็ไม่มีคน อันนั้นเป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นผิวหนัง เป็นตับไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารเก่า อาหารใหม่ มันไม่ใช่ตัวตนนี่ มันไม่ใช้คนนี่
31. ธรรมะแปดหมื่นสี่พันไม่ใช่อะไร รวมแล้วได้แก่พระสูตร คือ ลมหายใจเข้า พระวินัย คือลมหายใจออก พระปรมัตถ์ผู้รู้ที่อยู่ข้างใน
http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=308196
วาทะคำสอนของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
1. บุญและบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อนใจเป็นรากฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ใจ 2. ตัวบุญคือใจสะบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน 3. เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะหละ ให้อยู่ในที่รู้ อยู่ตรงไหน แล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น 4.ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองทุกข์สังขาร 5. ถ้าคนเราไม่ได้ทำ ไม่ได้หัดไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา ที่ไหนเล่า จะมีพระอรหันต์ในโลก 6. ให้สติกำหนดที่ผู้รู้ อย่าส่งไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างบน ข้างล่าง อดีต อนาคต กำหนดอยู่ที่ผู้รู้แห่งเดียวเท่านั้นแหละ 7. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจ ในใจ |
8. จำไว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอะไรๆ ก็พุทโธ กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ ท่านให้พิจารณามูลกรรมฐานก่อนม๊ด เวลาบวชพิจารณาเพราะเหตุใด เพื่อไม่ให้หลงถือทิฐิมานะอหังการ ถือว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา มันจึงหลง
9. เราต้องปฎิบัติอย่างฝากตาย
10. ศีลห้านี้ คือ ขาสอง แขนสอง ศีรษะอันหนึ่ง เรารักษาห้าอย่างนี้ไม่ให้ไปทำโทษห้า คือ อันใดเล่า ปาณานั้นก็โทษ อทินนานั่นก็โทษ กาเมนั่นก็โทษ มุสานี่นก็โทษ สุรานั่นก็โทษ พระพุทธเจ้าให้เว้น เวรมณี คือ ละเว้น
11. อยากสวยให้ถือศีล อยากรวยให้ทำทาน อยากมีปัญญาชาญให้ภาวนา
12. จิตของเราสงบเป็นสมาธิ มันรู้สึกสบาย ส - บ๊ - า - ย เย็นอก เย็นใจ หายทุกข์ หายยาก หายรำบากรำคาญ
13. ผู้รู้ไม่ใช้ของแตกของทำลายของตายของดับ
14. ถ้าใจเราดีแล้ว ทำอะไร๊ก็ดี ไปไหนๆก็ดี ทำการทำงานก็ดี ทำราชการก็ดี ครอบครัวก็ดี พี่น้องก็ดี ชาวบ้านร้านตลาดก็ดี ประเทศชาติก็ดี
15. ความสุขอันใดเสมอจุดสงบไม่มี
16. ธรรมของพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น อยู่ที่ตัวเรา ไม่ใช่ที่ไหนอื่น
17. กรรมดีกรรมชั่ว ผู้นี้เป็นผู้กำเอาเป็นผู้ทำเอาไม่เห็นมีกรรมมาจากต้นไม้ภูเขาเหล่ากา ไม่เห็นมีกรรมมาจากฟ้าอากาศ มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมเท่านี้แหละ
18. เราเกิดมามีกรรมฐานห้ามาพร้อม ทีนี้กับคนแก่พระกรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง ทันตาฟันไงล่ะ เด็กมันเกิดมาฟันยังไม่เกิด พระกรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง คนแก่ฟันหลุดหมด พระกรรมฐานก็ขาดไปองค์หนึ่ง
19. วิธีอื่นไม่มีจะตัดบาปตัดกรรมตัดเวร นอกจากเรานั่งสมาธินี้
20. มโนกรรมคือความน้อมนึกระลึกกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะรับผลของกรรมนั้นสืบไป
21. บุญคือความสุข บุญคือความเจริญ บุญคือคุณงามความดี มันตรงไหนล่ะ เงินเขาก็ไม่ได้ว่าเขามีความสุข ถามดูซิ เงินเจ้ามีความสุขไม๊ เขาเฉย ไม่ใช่เรอะ นี่แหละ ถ้าใจเราไม่สงบมันก็ไม่มีความสุขล่ะ ถ้าใจเราไม่มีความดีก็ไม่มีซี้
22. อยากรู้อะไร ตามที่เป็นจริง ให้น้อมเข้ามาภายในโอปะนะยิโก เพราะอะไรๆ มันเกิดมาจากภายใน
23. สิ่งทั้งหลายทั้งหมดเกิดจากดวงใจของเรา มโนความน้อมนึก
24. สมุทัย คือ มหาสมุทร จมในมหาสมุทร คือ หลงสมมติ
25. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้วเราอย่าไปหา ไปหาแล้วมันเป็นตัณหา
26. เรานั้งอยู่นี่มันเกิดกี่ภพกี่ชาติแล้ว ภเว ภวา สัมภวันติ มันเที่ยวก่อภพน้อยๆ ใหญ่ๆ อยู่ มันห้ามไม่ได้ เรานั้งสมาธินี้เพื่อห้ามไม่ให้มันเกิด
27. เราทำอย่างนี้เรียกปฏิบัติบูชา บูชาพระพุทธเจ้าอย่างเลิศ อย่างประเสริฐที่สุด บุญอันใดจะเท่าเรานั่งสมาธิภาวนาไม่มี
28. ถ้าหยุดหาเสียเมื่อใด มาตั้งใจปฏิบัติธรรม ก็เห็นธรรมเมื่อนั้น
29. เวลานี้เราเข้าใจอย่างอื่นว่าเป็นศาสนา ไปเรียนอย่างอื่นไม่ใช้โอปะนะยิกธรรม ไม่น้อมเข้ามาหาตัวเราก็ไม่เห็นซี่
30. เพ่งดูนโม อาการสามสิบสองเพ่งให้เห็นแจ่มแจ้งภควา ผู้จำแนกแจกธรรม แจกเข้าแล้วมันก็ไม่มีคน อันนั้นเป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นผิวหนัง เป็นตับไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารเก่า อาหารใหม่ มันไม่ใช่ตัวตนนี่ มันไม่ใช้คนนี่
31. ธรรมะแปดหมื่นสี่พันไม่ใช่อะไร รวมแล้วได้แก่พระสูตร คือ ลมหายใจเข้า พระวินัย คือลมหายใจออก พระปรมัตถ์ผู้รู้ที่อยู่ข้างใน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)